เมนู

ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปด้วย ถึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว ถึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า ผู้มีความรู้ ด้วยความรู้ที่เป็นอดีต ชื่อว่าผู้มี
ความรู้ ด้วยความรู้ที่ดับแล้ว ที่ปราศไปแล้ว ที่สงบระงับแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา



ว่าด้วย ญาณ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิด
ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เมื่ออัญญาณ คือ โมหะ แม้
ปราศจากไปแล้วด้วยมรรคญาณ ครั้นเมื่อจิตที่ไม่ประกอบด้วยญาณกำลัง
เป็นไป จักขุวิญญาณเป็นต้นเป็นไปอีก มรรคจิตนั้นก็มิใช่กำลังเป็นไป
เหตุใด เพราะเหตุนั้น ไม่ควรกล่าวว่า มีญาณ ดังนี้ คำถามของสกวาที
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที
จึงกล่าวคำว่า เมื่อราคะปราศไปแล้ว เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า
เมื่ออัญญาณ คือ โมหะ ปราศจากไปแล้ว บัญญัติว่า ผู้มีญาณ ดังนี้
ไม่พึงมีไซร้ ครั้นเมื่อราคะเป็นต้นปราศจากไปแล้ว แม้บัญญัติว่ามีราคะ

เป็นต้นปราศจากไปแล้วก็ไม่พึงมี ด้วยเหตุนั้น บุคคลผู้ไม่มีความโกรธ
พึงเป็นผู้มีความโกรธในบัญญัติว่าด้วยบุคคลนั้นพึงมีหรือ. ปรวาทีเมื่อไม่
เห็นควรในความเป็นผู้มีราคะเป็นต้น ในธรรมเหล่านั้น ซึ่งมีราคะเป็นต้น
ที่ปราศจากไปแล้ว จึงตอบปฏิเสธ. ในที่สุดปัญหา ปรวาทีถามปัญหาที่
ควรถามว่า ชื่อว่าผู้มีความรู้ ด้วยความรู้ที่เป็นอดีต เป็นต้น เพราะฉะนั้น
สกวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ดังนี้แล.
อรรถกถาญาณกถา จบ

ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา



[1451] ปรวาที ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1452] ส. ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน.
ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ